พระราชประวัติรัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2423 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2468)
มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2421 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ( สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี ) เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ" ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี ในปี พ.ศ. 2431 และต่อมาในปี พ.ศ. 2437 สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารดํารงตําแหน่งรัชทายาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ดํารงตําแหน่งรัชทายาทแทน
พระราชกรณียกิจ
ถึงแม้รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีระยะสั้นเพียง
๑๕ ปีเท่านั้น
แต่ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศและประชาชนชาวไทยหลายด้าน
ดังต่อไปนี้
ด้านการศึกษา
- จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะ โรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ
ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙
นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
- ทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา
ปีพ.ศ.
๒๔๖๔ ให้บิดามารดาส่งบุตรเข้าโรงเรียนโดยไม่เสียค่าเล่าเรียน
- โปรดเกล้าให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาหนึ่งและพระราชทานนามว่า
โรงเรียนเพาะช่าง ในวันที่ ๗
มกราคม ๒๔๕๖ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนเพาะช่างด้วยพระองค์เองด้วยจุดเริ่มต้นนี้ทำให้ประเทศไทยยังมีช่างฝีมือทางศิลปกรรมไทยไว้สืบทอดและสร้างสรรค์สิ่งดีงามจนถึงปัจจุบัน
ด้านสังคม
- ยกเลิกบ่อนการพนัน และ หวย ก.ข. ซึ่งเป็นอบายมุขมอมเมาประชาชน
แม้ว่าจะเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาลแหล่งหนึ่งก็ตาม
- ลดการค้าฝิ่นซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักอีกแหล่งหนึ่งของรัฐบาล
- ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล
พ.ศ.
๒๔๕๖ เป็นการเริ่มต้นให้คนไทยมีนามสกุลใช้
โดยได้ทรงพระราชทานนามสกุลแก่ผู้ที่ขอมาด้วย
ด้านเศรษฐกิจ
- จัดตั้ง ธนาคารออมสินขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์
และเชื่อมั่นในสถาบันการเงิน เนื่องจากมีธนาคารพาณิชย์เอกชนที่ฉ้อโกง และต้องล้มละลายปิดกิจการ ทำให้ผู้ฝากเงินได้รับความเสียหายอยู่เสมอ
- ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อหุ้นของ
ธนาคารสยามกัมมาจล ทุนจำกัด(ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์) ซึ่งมีปัญหาการเงิน ทำให้ธนาคารของคนไทยแห่งนี้ดำรงอยู่มาได้
- ทรงริเริ่มตั้ง บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัดซึ่งได้เป็นกิจการอุตสาหกรรมสำคัญของไทยต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
- ทรงจัดตั้ง สภาเผยแผ่พาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานคล้ายกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจในปัจจุบัน
- โปรดเกล้าฯ ให้จัดเตรียมแสดงสินค้าไทย คืองานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ ที่สวนลุมพินี แต่งานต้องเลิกล้มไปเพราะสวรรคตเสียก่อน
ด้านการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย
- ทรงส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ผ่านสื่อมวลชนที่สำคัญ
ในยุคนั้นคือหนังสือพิมพ์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีเสรีภาพสูงยิ่งกว่าสมัยหลัง
พ.ศ.
๒๔๗๕
- ทรงทดลองและฝึกให้ข้าราชบริพารรู้จักการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยทรงสร้างเมืองจำลอง
"ดุสิตธานี" ขึ้น เป็นเมืองที่มีพรรคการเมือง,การเลือกตั้ง, และการบริหารตามระบอบประชาธิปไตย
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และวชิรพยาบาล เพื่อรักษาพยาบาลประชาชนที่เจ็บไข้ได้ป่วย
- ทรงเปิดสถานเสาวภา
เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.
๒๔๖๕ เพื่อผลิตวัคซีนและเซรุ่ม
เป็นประโยชน์ทั้งแก่ประชาชนชาวไทยและประเทศใกล้เคียงอีกด้วย
- ทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๕๗
ด้านการต่างประเทศ
เมื่อเกิดมหายุทธสงครามโลกครั้งที่
๑ ขึ้น
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ในตอนต้นของสงคราม
ประเทศไทยได้ประกาศตนเป็นกลางแต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศสงครามกับเยอรมนี
และออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่
๒๒ กรกฎาคม
พ.ศ.
๒๔๖๐ เพื่อรักษาสิทธิของประเทศ
และเพื่อความเที่ยงธรรมของโลกเป็นส่วนรวม
และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิด้วย
การเข้าร่วมสงครามในครั้งนี้เป็นผลดีแก่ประเทศไทยอย่างยิ่ง
ในฐานะผู้ชนะสงคราม ประเทศไทยสามารถเจรจากับประเทศมหาอำนาจขอแก้ไขสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
และ สนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของประเทศไทย
ทำให้ประเทศไทยพ้นสภาพการเสียเปรียบในด้านการศาล
และสามารถดำเนินนโยบายด้านภาษีได้โดยอิสระ
ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ
- ทรงจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อวันที่
๖ พฤษภาคม
พ.ศ.
๒๔๕๔ โดยมีพระราชประสงค์จะฝึกอบรมข้าราชการให้มีระเบียบวินัย
มีความสามัคคี มีน้ำใจเป็นสุภาพบุรุษ ประพฤติตนดี รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นกำลังของชาติในยามคับขัน
- ทรงจัดตั้งกอง ลูกเสือขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔
เพื่อฝึกเยาวชนให้มีความสามัคคีมานะอดทน
เสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นผู้ช่วยรบได้ในยามคับขัน
ด้านศิลปวัฒนธรรม
- ทรงตั้งกรมมหรสพขึ้น
เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย
- ทรงตั้งโรงละครหลวงขึ้นเพื่อส่งเสริมการแสดงละครในหมู่ข้าราชบริพาร
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ออกแบบอาคารสมัยใหม่เป็นแบบทรงไทย
เช่น ตึกอักษรศาสตร์
ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และอาคารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์
- ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติการพิมพ์ฉบับแรกขึ้น
เรียกว่า พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร
และหนังสือพิมพ์ พ.ศ.
๒๔๖๕
- ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นอันมาก ทั้งในภาษาไทย
และภาษาอังกฤษ ทั้งที่เป็นร้อยแก้ว และร้อยกรอง ทั้งที่เป็นสารคดี และนิยาย
มีบทละครรำ ละครร้อง ละครพูด
ทั้งยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทความพระราชทานหนังสือพิมพ์ด้วย
รวมกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง เป็นมรดกทางวรรณกรรมให้ประชาชนชาวไทยได้อ่านและชื่นชมสืบทอดกันมา
จึงได้รับพระสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า และ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO)
ก็ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์เป็นปราชญ์สยาม
ด้านการคมนาคม
- ทรงปรับปรุงและขยายงานกิจการรถไฟ
ให้รวมกรมรถไฟซึ่งเคยแยกเป็น ๒ กรมเข้าเป็นกรมเดียวกัน
เรียกว่า กรมรถไฟหลวง เริ่มเปิดกิจการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ
ถึงเชียงใหม่ ทรงเปิดเดินรถด่วนระหว่างประเทศ สายใต้ติดต่อกับรถไฟมลายู (มาเลเซีย)
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างสะพานพระราม ๖ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมทางรถไฟทั้งปวงในพระราชอาณาจักรโดยโยงเข้ามาสู่ศูนย์กลางที่สถานีหัวลำโพง
- ทรงจัดตั้งกรมอากาศยาน
ได้เริ่มการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศระหว่างกรุงเทพฯ
ไปยังนครราชสีมาเป็นครั้ง
Play Las Vegas Slots and Win Big at the RTG Casino - Mapy
ตอบลบJoin the RGT Casino 안산 출장마사지 community today and play the best free slots and video poker games. 경상남도 출장안마 Find 김포 출장샵 the 아산 출장샵 best free casinos in Las Vegas 세종특별자치 출장안마 right here.