พระราชประวัติรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2330 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2394)
มีพระนามเดิมว่า พระองค์ชายทับ
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุราลัย ( เจ้าจอมมารดาเรียม ) ประสูติ ณ วันจันทร์ เดือน 4 แรม 10 คํ่า ปีมะแม ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2330 มีพระนามเดิมว่า "พระองค์ชายทับ"
พ.ศ. 2365 พระองค์ชายทับ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กํากับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตํารวจว่าการฎีกา นอกจากนี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แต่งสําเภาหลวงออกไปค้าขาย ณ เมืองจีน พระองค์ทรงได้รับพระสามัญญานามว่า "เจ้าสัว"
ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชการที่ 2 ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาเสนาบดีผู้เป็นประทานในราชการจึงปรึกษากัน เห็นควรถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อันที่จริงแล้วราชสมบัติควรตกแก่ เจ้าฟ้ามงกุฎ ( พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) เพราะเจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 โดยตรง ส่วนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นเพียงราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอมเท่านั้น โดยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้วว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระองค์แล้วจะคืนราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระอนุชา ( เจ้าฟ้ามงกุฎ) ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงสถาปนาพระบรมราชินี คงมีแต่เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขึ้น 7 คํ่า เดือน 9 ปีวอกฉศก มี
พระราชกรณียกิจด้านการปกครอง
พระราชกรณียกิจด้านการปกครองที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำกลองใบใหญ่ที่เจ้าพระยาพระคลังนำมาถวายไปตั้งไว้ที่ทิมดาบ กรมวังลั่นกุญแจ พระราชทานนามว่า “วินิจฉัยเภรี” สำหรับให้ประชาชนที่ต้องการร้องทุกข์ถวายฎีกามาตี แล้วกรมวังก็จะไขกุญแจให้ เมื่อตีกลองแล้วตำรวจเวรก็จะรับตัวมาสอบถามเรื่องราวแล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูล จากนั้นจึงมอบหมายให้ขุนนางคอยดูแลชำระความ และคอยสอบถามอยู่เสมอมิให้ขาด ทำให้ขุนนางไม่อาจหลีกเลี่ยงต่อหน้าที่ได้ ประชาชนจึงได้รับผลประโยชน์เป็นอย่างมาก
พระราชกรณียกิจด้านการป้องกันประเทศ
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสงครามระหว่างไทยกับพม่าได้เบาบางและสิ้นสุดลง เพราะพม่าติดพันการทำสงครามอยู่กับอังกฤษ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีสงครามเกิดขึ้นหลายครั้งในหลายรัชกาลนี้ โดยสงครามที่สำคัญได้แก่
๑. พ.ศ. ๒๓๑๖ สงครามกับเจ้าอนุวงศ์ แห่งเมืองเวียงจันทน์ เดิมทีเมืองเวียงจันทน์ตกเป็นเมืองขึ้นของไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี แต่ในขณะนั้นเจ้าอนุวงศ์เริ่มมีอำนาจมากขึ้น จึงถือโอกาสช่วงเปลี่ยนแผ่นดิน ก่อกบฏยกกองทัพเข้ามาตีไทยเพื่อประกาศตนเป็นอิสระทว่าถูกกองทัพของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขับไล่ออกไปได้หมดสิ้น ดินแดนแคว้นลาวจึงยังคงอยู่ในอำนาจของไทยต่อไปจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒. พ.ศ. ๒๓๗๖ – พ.ศ. ๒๓๙๐ สงครามกับญวน สงครามครั้งนี้กินเวลายาวนานถึง ๑๕ ปี เริ่มจากปี พ.ศ. ๒๓๗๖ ญวนที่เมืองไซง่อนก่อกบฏขึ้น พระเจ้าเวียดนามมินมาง จึงต้องทำสงครามปราบปรามกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าเป็นโอกาสที่จะแย่งชิงเขมรกลับคืน และปราบญวนให้หายกำเริบ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเขมร หัวเมืองญวนไปจนถึงไซ่ง่อน และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ยกทัพเรือไปตีหัวเมืองเขมรและญวนตามชายฝั่งทะเล สงครามยืดเยื้อมาเป็นเวลานานจนเป็นอันเลิกรบ แต่ไทยก็ได้เขมรมาอยู่ในปกครองอีกครั้ง
พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
เหตุการณ์ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่สำคัญมีดังนี้
๑. สัมพันธไมตรีกับอังกฤษ ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๖๙ ไทยได้ทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและพาณิชย์กับอังกฤษ ชื่อว่า สนธิสัญญาเบอร์นี เนื่องจากมีนายเฮนรี่ เบอร์นี เป็นผู้ทำการเจรจากับรัฐบาลไทยเกี่ยวกับปัญหาการค้าและการเมืองในมลายู ใช้ระยะเวลา ๕ เดือน ประกอบด้วยสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี ๑๔ ข้อ และสนธิสัญญาทางการพาณิชย์แยกอีกฉบับรวม ๖ ข้อ สนธิสัญญาเบอร์นี ถือเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์
๒. สัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ เริ่มจากการทำการค้าและมีการทำสนธิสัญญาระหว่างกัน โดยลงนามเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ มีนายเอ็ดมันส์ โรเบิร์ต เป็นทูตเจรจาใช้ระยะเวลาในการเจรจา ๒๒ วัน โดยมีข้อตกลงทางการเมืองและการค้าอยู่ในฉบับเดียวกัน ๑๐ ข้อ สำหรับบรรดาประเทศต่างๆ ในเอเชียนั้น ประเทศจีนนับเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับไทย ทั้งทางด้านการทูตและการค้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไทยได้จัดส่งราชทูตอัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศจีนใน พ.ศ. ๒๓๖๘ การค้าระหว่างไทยกับจีนดำเนินไปได้ด้วยดีตลอดสมัยรัชกาลที่ ๓
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น