ประวัติรัชกาลที่1-10
วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ประวัติรัชกาลที่10
พระราชประวัติรัชกาลที่10 แห่งวงศ์จักรี
พระราชประวัติ รัชกาลที่10 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช
วันรุ่งขึ้น วันที่ ๑๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๕ จึงมีพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ในห้องพิธี เมื่อถึงพระฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงจรดพระกรรไกรไทยขลิบพระเกศา และทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์จากเต้าพระราชทาน
เมื่อทรงเจริญพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ ๑ เมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ เมื่อพระชนมายุ ๔ พรรษา ณ โรงเรียนจิตรลดาชั้นอนุบาล ที่ตั้งอยู่ ณ พระที่นั่งอุดร ในพระราชวังดุสิต
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเลือกศึกษาในสาขาวิชาอักษรศาสตร์ ทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๙ เมื่อนิวัตประเทศไทย ทรงรับราชการทหารแล้วทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ ๔๖ พุทธศักราช
ในบทพระราชนิพนธ์ “น้องน้อยของพี่ชาย” ซึ่งเป็นบทความที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระราชนิพนธ์ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจริญพระชนมพรรษา ๓ รอบ
พระราชกรณียกิจรัชกาลที่10
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ มาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ เริ่มตั้งแต่การตามเสด็จพระราชดำเนินไปยังภูมิภาคต่างๆ เพื่อทอดพระเนตรความเป็นอยู่ และความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎร ทรงเรียนรู้แนวทางการพระราชทานความช่วยเหลือราษฎรซึ่งประสบปัญหาแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาแหล่งน้ำ และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรผู้ยากไร้ในถิ่นทุรกันดาร ทำให้ทรงเข้าพระราชหฤทัยถึงความทุกข์ยากของราษฎรทุกหมู่เหล่า
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่เกี่ยวกับการส่งเสริมการศึกษาของเยาวชนไทย โดยทรงรับโรงเรียนหลายแห่งไว้ในพระราชูปถัมภ์ เนื่องจากทรงตระหนักดีว่า การศึกษาจะสามารถพัฒนาเยาวชนซึ่งเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต จึงพระราชทานพระราดำริด้านการส่งเสริมการศึกษา ได้แก่
"โครงการทุนการศึกษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร" เพื่อสนับสนุนการส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน
ในยามที่ราษฎรประสบความเดือดร้อนเนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นเมื่อครั้งเกิดมหาอุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพสกนิกรยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และยังได้พระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบภัย สร้างความปลื้มปิติแก่ผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง
พระราชภาระสำคัญประการหนึ่งที่ทรงปฎิบัติต่อเนื่องคือ การเสด็จแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไปทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเยือนมิตรประเทศทั่วทุกทวีปนั้น นอกจากจะเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยและประเทศต่างๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นแล้ว ยังได้ทอดพระเนตรกิจการอันเป็นประโยชน์ต่างๆ อันจะนำมาใช้ ในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะด้านการทหาร
สำหรับการเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในประเทศนั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีสำคัญหลายโอกาส อาทิ การเปลี่ยนเครื่องทรง "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร" หรือ "พระแก้วมรกต" ตามฤดูกาล, การบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา, การตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพล และพระราชทานธงชัยเฉลิมพล, การพระราชทานปริญญาบัตรในสถาบันการศึกษาต่างๆ, การพระราชทานพระราชวโรกาสให้เอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ เฝ้าทูลละอองพระบาท ถวายราชสาส์น และอักษรสาส์นตราตั้ง ทั้งยังพระราชทานพระราชวโรกาสให้นายทหาร และนายตำรวจชั้นนายพล เฝ้าทูลละอองพระบาท ถวายสัตย์ปฎิญาณ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง
การทุ่มเทพระวรกายปฎิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่โดยมิทรงว่างเว้นของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สะท้อนถึงพระราชหฤทัยมุ่งมั่นในการขจัดทุกข์บำรุงแก่พสกนิกร เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ซึ่งยังประโยชน์สุขแก่ราษฎรทุกหมู่เหล่าสืบมา
ประวัติรัชกาลที่9
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
(ประสูติ พ.ศ. 2470 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2489 - ปัจจุบัน)
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ เมืองเคมบริจดจ์มลรัฐเมสสาชูเสท ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงเป็นพระราชโอรสาธิราช องค์ที่ 3 ในสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ( สมเด็จพระศรีนครินทรทรา บรมราชชนนี ) พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระเชษฐาธิราชว่า " พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล " พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รัชกาลที่ 8 และมีพระพี่นาง พระนามว่า " สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา "
พระองค์ได้เสด็จกลับเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากพระบรมเชษฐาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะมีพระชันษา 19 ปี ก่อนครองราชย์ได้ทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และได้เสด็จกลับไปศึกษาวิชานิติศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ต่ออีกภายหลังที่ได้ครองราชย์แล้ว
ทรงสนพระทัยในอักษรศาสตร์ และการดนตรีทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศหลายภาษาและตรัสได้อย่างคล่องแคล่ว จนเป็นที่ประจักษ์แก่คณะทูตานุทูตและประชาชนชาวเมืองนั้นๆ เป็นอย่างดี ต่างพากันชมว่า พระองค์ทรงมีความรู้ทันสมัยที่สุดพระองค์หนึ่ง สําหรับดนตรีนั้นทรงประพันธ์เนื้อร้องและทํานองเพลงแด่คณะวงดนตรีต่างๆ มีเพลงพระราชนิพนธ์ที่คนไทยรู้จักเช่น เพลงสายฝน เพลงประจํามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เพลงประจํามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระองค์เคยเข้าร่วมวงดนตรีกับชาวต่างประเทศมาแล้ว โดยไม่ถือพระองค์
พระราชกรณียกิจสำคัญ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นเลิศทางด้านการเกษตร การศึกษา ศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และอื่น ๆ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพและความสามารถ พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายในการประกอบพระราชกรณียกิจ ตลอด 70 ปีที่ทรงครองราชสมบัติ ซึ่งพระราชกรณียกิจที่โดดเด่นของพระองค์ มีดังต่อไปนี้
แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว จะทำด้วยการขังน้ำไว้ในพื้นที่ จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาทางเคมีจนทำให้ดินเปรี้ยวจัด เมื่อถึงที่สุดแล้ว จะมีการระบายน้ำออกแล้วปรับสภาพดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งสามารถใช้ดินในการเพาะปลูกได้
2. โครงการปลูกหญ้าแฝก
ภาพจาก เรารักพระเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงศึกษาเรื่องการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำจากเอกสารของธนาคารโลก ที่นาย Richard Grimshaw ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย และพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝก โดยให้ทรงทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน จนปัจจุบันมีหน่วยงานกว่า 50 หน่วยงาน ดำเนินงานสนองพระราชดำริการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ส่งผลให้การดำเนินงานก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ
3. โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
ภาพจาก kanchanapisek
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานโครงการแพทย์หลวงพระราชทาน เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยที่มีการจัดเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อตรวจรักษาราษฎรในถิ่นทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า และอบรมหมอหมู่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน
4. โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
ภาพจาก kanchanapisek
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ได้จัดทำขึ้นตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยจัดขึ้นเป็นรูปเล่ม และบางส่วนได้เผยแพร่ออนไลน์ อันรวบรวมเนื้อหาจากหลายสาขาวิชา โดยที่ฉบับปกติมีทั้งหมด 37 เล่ม และฉบับเสริมการเรียนรู้มีทั้งหมด 20 เล่ม
5. ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล
ภาพจาก kanchanapisek
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล ในปี พ.ศ. 2502 เพื่อให้นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่น ได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้ชั้นสูงในต่างประเทศ และนำองค์ความรู้ที่ได้มาช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
6. แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : เกษตรทฤษฎีใหม่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นต้น โดยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นได้แก่ ขั้นต้น คือ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตรา 30-30-30-10 เพื่อขุดเป็นสระกักเก็บน้ำ 30% ปลูกข้าวในฤดูฝน 30% ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร 30% และเป็นที่อยู่อาศัยอีก 10%
จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง คือการให้เกษตรกรรวมกันในรูปแบบของกลุ่ม สหกรณ์ เพื่อดำเนินการในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม คือการติดต่อประสานงาน จัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อใช้ลงทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป
7. บทพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานบทพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก ซึ่งมีการดัดแปลงเล็กน้อยจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ 4 ภาคที่ 2 เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย และพระองค์ทรงแปลเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2531 จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพิมพ์ในปีกาญจนาภิเษก ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปีพุทธศักราช 2539 ซึ่งมีเนื้อหาอันทรงคุณค่าและมีการพิมพ์เป็นฉบับการ์ตูนอีกด้วย
8. โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
ภาพจาก ku.ac.th
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโครงการอันหลากหลายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร และโครงการกึ่งธุรกิจ อาทิ โรงโคนมสวนจิตรลดา, โรงนมผงสวนดุสิต, น้ำผึ้งสวนจิตรลดา เป็นต้น
9. โครงการฝนหลวง
ภาพจาก dit.dru.ac.th
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริส่วนพระองค์ในเรื่องการจัดทำฝนหลวง เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตร โดยมีการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนหลวงขึ้น ซึ่งจะใช้สารเคมีโปรยในท้องฟ้า จนกระทั่งไอน้ำอิ่มตัวและกลั่นตัวออกมากลายเป็นเม็ดฝน
10. กังหันน้ำชัยพัฒนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพและความสามารถ พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายในการประกอบพระราชกรณียกิจ ตลอด 70 ปีที่ทรงครองราชสมบัติ ซึ่งพระราชกรณียกิจที่โดดเด่นของพระองค์ มีดังต่อไปนี้
1. โครงการแกล้งดิน
ภาพจาก dit.dru.ac.th
แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว จะทำด้วยการขังน้ำไว้ในพื้นที่ จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาทางเคมีจนทำให้ดินเปรี้ยวจัด เมื่อถึงที่สุดแล้ว จะมีการระบายน้ำออกแล้วปรับสภาพดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งสามารถใช้ดินในการเพาะปลูกได้
2. โครงการปลูกหญ้าแฝก
ภาพจาก เรารักพระเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงศึกษาเรื่องการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำจากเอกสารของธนาคารโลก ที่นาย Richard Grimshaw ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย และพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝก โดยให้ทรงทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน จนปัจจุบันมีหน่วยงานกว่า 50 หน่วยงาน ดำเนินงานสนองพระราชดำริการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ส่งผลให้การดำเนินงานก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ
3. โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
ภาพจาก kanchanapisek
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานโครงการแพทย์หลวงพระราชทาน เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยที่มีการจัดเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อตรวจรักษาราษฎรในถิ่นทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า และอบรมหมอหมู่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน
4. โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
ภาพจาก kanchanapisek
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ได้จัดทำขึ้นตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยจัดขึ้นเป็นรูปเล่ม และบางส่วนได้เผยแพร่ออนไลน์ อันรวบรวมเนื้อหาจากหลายสาขาวิชา โดยที่ฉบับปกติมีทั้งหมด 37 เล่ม และฉบับเสริมการเรียนรู้มีทั้งหมด 20 เล่ม
5. ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล
ภาพจาก kanchanapisek
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล ในปี พ.ศ. 2502 เพื่อให้นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่น ได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้ชั้นสูงในต่างประเทศ และนำองค์ความรู้ที่ได้มาช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
6. แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : เกษตรทฤษฎีใหม่
ภาพจาก เรารักพระเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นต้น โดยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นได้แก่ ขั้นต้น คือ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตรา 30-30-30-10 เพื่อขุดเป็นสระกักเก็บน้ำ 30% ปลูกข้าวในฤดูฝน 30% ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร 30% และเป็นที่อยู่อาศัยอีก 10%
จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง คือการให้เกษตรกรรวมกันในรูปแบบของกลุ่ม สหกรณ์ เพื่อดำเนินการในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม คือการติดต่อประสานงาน จัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อใช้ลงทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป
7. บทพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก
ภาพจาก larnbuddhism.com
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานบทพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก ซึ่งมีการดัดแปลงเล็กน้อยจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ 4 ภาคที่ 2 เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย และพระองค์ทรงแปลเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2531 จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพิมพ์ในปีกาญจนาภิเษก ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปีพุทธศักราช 2539 ซึ่งมีเนื้อหาอันทรงคุณค่าและมีการพิมพ์เป็นฉบับการ์ตูนอีกด้วย
8. โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
ภาพจาก ku.ac.th
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโครงการอันหลากหลายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร และโครงการกึ่งธุรกิจ อาทิ โรงโคนมสวนจิตรลดา, โรงนมผงสวนดุสิต, น้ำผึ้งสวนจิตรลดา เป็นต้น
9. โครงการฝนหลวง
ภาพจาก dit.dru.ac.th
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริส่วนพระองค์ในเรื่องการจัดทำฝนหลวง เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตร โดยมีการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนหลวงขึ้น ซึ่งจะใช้สารเคมีโปรยในท้องฟ้า จนกระทั่งไอน้ำอิ่มตัวและกลั่นตัวออกมากลายเป็นเม็ดฝน
10. กังหันน้ำชัยพัฒนา
ภาพจาก chaipat.or.th
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำชัยพัฒนาขึ้น เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี และสามารถประยุกต์ใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และเพิ่มออกซิเจนให้บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตรประวัติรัชกาลที่8
พระราชประวัติรัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
(ประสูติ พ.ศ. 2468 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2489)
มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ตรงกับวันขึ้น 3 คํ่า เดือน 11 ปีฉลู ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมันนี ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ทรงมีพระพี่นางและพระอนุชาร่วมสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระราชชนนีเดียวกันคือ
1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
2. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช
พ.ศ. 2472 สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์เสด็จทิวงคต
พ.ศ. 2474 พระองค์ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต
พ.ศ. 2476 เสด็จพระราชดําเนินไปทวีปยุโรป ประทับ ณ เมืองโลซานน์ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
พ.ศ. 2477 ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดาที่จะสืบราชสันตติวงศ์ และด้วยความเห็นชอบของผู้สําเร็จราชการแผ่นดินที่ได้ดําเนินการไปตามกฎมณเฑียรบาล
พ.ศ. 2481 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จพระราชดําเนินกลับเยี่ยมประเทศไทยพร้อมด้วยสมเด็จพระชนนี สมเด็จพระพี่นางเธอและสมเด็จพระเจ้าน้องเธอ ได้ทรงประประทับอยู่ที่พระตําหนักจิตรลดารโหฐานประมาณ 2 เดือน จึงเสด็จไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อเข้าศึกษาวิชานิติศาสตร์ และการปกครองในมหาวิทยาลัยประเทศนั้น
พ.ศ. 2488 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ จึงเสด็จกลับมาถึงประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ได้ทรงประทับอยู่ ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวังผู้สําเร็จราชการแทนคนล่าสุดคือ นายปรีดี พนมยงค์ ได้ถวายพระราชภารกิจแด่พระองค์เพื่อได้ทรงบริหารเต็มที่ตามพระราชอํานาจ
พระราชกรณียกิจที่สำคัญในระหว่างการเสด็จนิวัตประเทศครั้งที่ 2
โดยสรุปพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ดังต่อไปนี้
· วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานพระอัฐและพระบรมอัฐสมเด็จบุรพมหากษัตริยาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
· วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2488 พระราชทานกระแสพระราชดำรัสทางวิทยุกระจายเสียงแก่ประชาชนชาวไทยเนื่องในโอกาสวันรัฐธรรมนูญ ดังมีพระราชดำรัสบางสวนดังนี้
“ในเวลาที่ข้าพเจ้าเล่าเรียนอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ข้าพเจ้ามีความคิดถึงท่านอยู่เสมอ จึงได้พยายามเล่าเรียนให้ดีที่สุดที่จะทำได้ เพื่อมาอยู่ร่วมมือกับท่านทุกคนในการส่งเสริมความเจริญของบ้านเมืองเรา ท่านทั้งหลายคงเห็นอยู่ว่า แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงไปแล้ว คามทุกข์ยากก็ยังมีอยู่ทั่วไปซึ่งรวมถึงบ้านเมืองไทยที่รักของเราด้วย แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่า ถ้าคนไทยทุกคนถือว่าตนเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง และต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ยากของบ้านเมืองก้จะผ่านพ้นไปได้ ข้าพเจ้าจึงขอร้องให้ท่านทุกคนได้ช่วยกันทำหน้าที่ของตนโดยแข้งขัน และขอให้มีความสามัคคีกลมเกลียวกันจริง ๆ เพื่อชาติจะได้ดำรงอยู่ในความวัฒนาการสืบไป……..”
· วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2488 พระราชทานเลี้ยงน้ำชาแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ณ สวนศิวาลัยในพระบรมมหาราชวัง
· วันที่ 28-29 ธันวาคม พ.ศ. 2488 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมข้าวไทยกับทีมท่าพระจันทร์
· วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2488 – วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุสลในวันขึ้นปีใหม่
· วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมแผนที่ทหารบกฉายพระบรมฉายาลักษณ์
· วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินวัดเบญจมบพิตร
· วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามสหประชาชาติ พร้อมด้วยลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน ณ ท้องสนามหลวงและถนนพระราชดำเนิน
· วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแข่งขันเทนนิส ณ สโมสรศิษย์เก่าเทพศิรินทร์
· วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2489 เสด็จแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังสวนไกลกังวล
· วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2489 เสด็จนิวัตกลับพระนคร ทรงเสด็จมนัสการพระปฐมเจดีย์ และเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ทำการรัฐบาลและได้เสด็จสู่บัลลังก์ศาล จ.นครปฐม
· วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ 2489 เสด็จทอดพระเนตรเรือดำน้ำและเรือปืนศรีอยุธยาต่อมาไม่ทราบวันที่แน่นอน ทรงเสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานอุทิศถวายสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาดา ณ วัดราชาธิวาส เสด็จพระราชพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
· วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พระราชวังโบราณ จ.พระนครศรีอยุธยา
· วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พระราชวังบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
· วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีวันที่ระลึกมหาจักรี ทรงสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
· วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก่ ลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบตเตน
· วันที่ 22 เมษายน พ.ศ 2489 เสด็จพระราชดำเนินโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสถานเสาวภา
· วันที่ 23 เมษายน พ.ศ 2489 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์
· วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2489 ลอร์ด ดินเสิร์น เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
· วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมกองทัพอากาศ
· วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จประพาสเยี่ยมประชาชน ณ จ.นนทบุรี และ จ.ปทุมธานี
· วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรไทย ฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
· วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศนายร้อยโททหารมหาดเล็กแด่สมเด็จพระราชอนุชา
· วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน จ.สมุทรสาคร
· วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์
· วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน จ.ฉะเชิงเทรา และเสด็จประทับบัลลังก์ ณ ศาล จ.ฉะเชิงเทรา
· วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยม ร.พัน 1 รอ.
· วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนเทพศิรินทร์ อันเป็นสถานศึกษาเมื่อครั้งทรงพระเยาว์
· วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมกรมอู่ทหารเรือและทรงขับเรือยามฝั่ง
· วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เสด็จประพาสสำเพ็ง
· วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน ณ สถานีเกษตรกลางบางเขนและได้ทรงหว่านเมล็ดธัญญาหารทงในแปลงงานสาธิตด้วย (เป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสด็จสวรรคต)
ด้านพระพุทธศาสนา
แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จะทรงเจริญวัยในดินแดนที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา แต่ก็ทรงได้รับการอบรมให้ซาบซึ้งในพระพุทธศาสนาและความเป็นไทย ทรงใฝ่พระทัยและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะตั้งแต่คราวเสด็จนิวัตพระนครครั้งแรก และทรงโปรดที่สนทนาวิสาสะกับพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรวัดสำคัญ ๆ อยู่เสมอ กับทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสด็จกลับไปศึกษาต่ออีกเพียงปีครึ่ง เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาแล้วทรงมีพระราชกุศลที่จะทรงผนวชในพระพุทธศาสนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงโปรดการเสด็จออกไปเยี่ยมเยียนและทอดพระเนตรทุกข์สุขของพสกนิกร ทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง ทุกครั้งที่เสด็จจะทรงโปรดให้ประชาชนเข้าเฝ้าโดยใกล้ชิด และทรงมีพระราชดำรัสถามถึงความเป็นอยู่ การทำมาหากินและปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ของประชาชนเหล่านั้น และเมื่อวันที่จะเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ก็ยิ่งทรงโปรดการเสด็จประพาสเยี่ยมเยียนพสกนิกรในจังหวัดต่าง ๆ มากขึ้น พระราชกรณียกิจครั้งสุดท้ายที่ทรงปฏิบัติ คือทรงหว่านข้าวลงในแปลงนาด้วยพระองค์เอง เพื่อเป็นบำรุงขวัญและเป็นสิริมงคลแก่การทำนาของไทเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมกิจการของชาวเกษตรกรกลางบางเขน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2489
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)